จากการขึ้นราคาอย่างน้อย 15 เท่าของ VMware vSphere ทำให้องค์กรต่างๆ มองหา Virtualization Solution เข้ามาแทนที่ ESXi และวันนี้เราจะพาไปดูโซลูชันตัวหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อยคือ Harvester ซึ่งทำงานแบบ hyperconverged infrastructure (HCI) สร้างขึ้นโดย SUSE มันถูกออกแบบมาเพื่องาน cloud-native โดยเฉพาะเลย สำหรับ virtualization มันใช้ KVM และ ใช้ KubeVirt ในการจัดการ VM ภายใต้เฟรมเวิร์ก Kubernetes ด้วย GUI ที่เรียบง่ายแต่กระชับ
สำหรับ การจัดการสตอเรจมันใช้ Longhorn สำหรับเก็บ VMs และ containers สนับสนุนการทำ HA และ คลัสเตอร์
ความต้องการพื้นฐาน : 8 core CPU, 32GB RAM, 140GB SSD/NVME ต่อโหนด
ข้อดี : ทันสมัย ทำงานด้วย Kubernetes มี GUI เรียบง่ายและกระชับ จัดการ VM และ Container ในระบบเดียวกัน
ข้อเสีย : อาจจะต้องใช้ฮาร์ดแวร์ที่มีสเปคสูงกว่า Proxmox VE และ XCP-ng
เหมาะสำหรับ : SMB หรือ องค์กรที่ต้องการใช้ cloud-native environment
งั้นเรามาดูต่อเลย ฟีเจอร์ทีชนกับ VMware มีอะไรบ้าง
สำหรับ VMware HA นั้นจะทำการ สตาร์ท VM บน host ตัวอื่น เมื่อโฮสต์ที่มี VM ตัวนั้นๆ เปิดไม่ได้หรือทำงานผิดพลาด มันทำหน้าที่เช็คสุขภาพของโอสต์ เช่น ดูการเชื่อมต่อ และ เช็คสตอเรจ เช่น SAN,vSAN,NAS เพื่อความแน่ใจว่าไฟล์เข้าถึงได้ในทุกโอสต์ มันทำหน้าที่มอนิเตอร์ VM ผ่าน VMware Tools
สิ่งที่จำเป็นต้องมี : vCenter Server, shared storage, และ ESXi อย่างน้อย 2 โฮสต์ และ เน็ตเวิร์กความเร็วสูง CPU ที่อยู่ในตระกูลเดียวกัน
จุดแข็ง : มีมานาน ได้รับการยอมรับ เข้ากับ DRS สำหรับ load balancing สนับสนุน 8 vCPU สำหรับ Fault Tolerance (FT) ใน Enterprise Plus Edition
ข้อจำกัด : จะต้องต้องอาศัย license vSphere Standard หรือสูงกว่า
Harvester HA
หน้าที่ HA จะกระทำผ่าน Kubernetes โดยใช้ KubeVirt เข้ามาจัดการ VM และ Longhorn เป็แชร์สตอเรจ VM จะทำการย้ายไปทำงานบนโฮสต์ที่ปกติ ถ้ามีโฮสต์ทำงานผิดพลาด live migration ก็มีใน Harvester สำหรับการสำรองข้อมูลทำผ่าน NFS, S3, NAS
สิ่งที่จำเป็นต้องมี : มีโหนดอย่างน้อย 3 ตามสเปคที่บอกไป ทำคลัสเตอร์ และ ใช้แชร์สตอเรจ
จุดแข็ง : เป็นโอเพนซอร์ส ไม่มีค่าใช้จ่าย และ รวมกับเข้า Kubernetes สำหรับการจัดการ VM/Container แบบรวมศูนย์ การตั้งค่า HA ทำผ่าน GUI
ข้อจำกัด : แน่นอนว่าระยะเวลาการพัฒนายังน้อยกว่า และการมอนิเตอร์ยังน้อยกว่า เช่นไม่มีระดับ application เวลาการ restore ขึ้นอยู่กับ cluster และประสิทธิภาพสตอเรจ
การเปรียบเทียบ : หน้าที่ในทั้งสองระบบ เหมือนกัน แต่การอยู่ในตลาดแน่นอน VMware มีมานานกว่า และมอนิเตอร์ด้วยเงื่อนไขที่เยอะกว่า และ มีดาวน์ไทม์เป็น 0 ได้
2. vMotion (Live Migration)
VMware vMotion กล่าวได้ว่า vMotion คือการย้าย VM ข้ามโอสต์ โดยไม่มี downtime นอกจากนั้นยังย้ายข้าม vCenter ได้ด้วย กรณีที่จำเป็นต้องย้ายข้าม datacenter นอกจากนั้นยังมี Encrypted vMotion เพื่อเข้ารหัสข้อมูลสำหรับการขนย้ายข้อมูล
สิ่งที่จำเป็นต้องมี : vCenter, shared storage, CPU ที่เข้ากันได้ระหว่างต้นทางปลายทาง และ vMotion Network ความเร็วสูง
จุดแข็ง : ไม่มี downtime ระหว่างการย้าย ใช้งานมานานในระดับองค์กร ทำงานร่วมกับ DRS ย้ายข้าม WAN ได้
ข้อจำกัด : ต้องจ่ายค่า license และมีความเร็วสูงในเน็ตเวิร์ก
Harvester Live Migration
สนับสนุนการทำ Live Migration ระหว่างโหนดในคลัสเตอร์ โดยการใช้งาน KubeVirt การย้ายก็ไม่มี downtime
สิ่งที่จำเป็นต้องมี : มีโหนดอย่างน้อย 2 และ ใช้แชร์สตอเรจ Longhorn
จุดแข็ง : โอเพนซอร์ส ไม่ต้องจ่ายค่าไลเซ็นต์ ทำผ่าน GUI
ข้อจำกัด : แน่นอนเกิดมาทีหลัง vMotion อาจจะมีข้อจำกัด ในการข้ามคลัสเตอร์ หรือการย้ายข้าม WAN
3. Distributed Resource Scheduler (DRS)
VMware DRS
DRS นั้นทำหน้าที่ในการสร้างสมดุลระหว่างโอสต์ หรือ พูดง่ายๆ แต่ละโฮสต์ จะรัน VM มากน้อย ระบบตรวจสอบให้ และ ย้าย VM ข้ามโฮสต์เพื่อปรับสมดุลได้เลย โดยภายใต้เงื่อนไข เช่น ทำเอง อัตโนมัติบางส่วน หรือ อัตโนมัติทั้งหมด นอกจากนั้นยังกำหนดได้ด้วยว่า VM อาจจะเกาะได้อยู่เพียงบางโฮสต์หรือเรียกว่า Affinity นอกจากนั้นก็ยังมี Aria Operations
สิ่งที่จำเป็นต้องมี : vCenter, vSphere Enterprise Plus license, cluster, shared storage
จุดแข็ง : ทำงานได้ดี เป็นที่ยอมรับ อัตโนมัติในการสร้างสมดุลของโฮสต์ ปรับแต่งได้ดี
ข้อจำกัด : ต้องจ่ายค่า license
Harvester Dynamic Scheduling
มันเป็นส่วนหนึ่งของ Kubernetes Scheduler และ KubeVirt สำหรับการย้าย VM และ ปรับสมดุลของโหลดในแต่ละโฮสต์ ในคลัสเดอร์เดียวกัน มันจะทำการตรวจสอบ การใช้งาน CPU,RAM และ ย้ายเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ และ สร้างสมดุล ทำได้ทั้งแบบมือ และ อัตโนมัติ นอกจากนั้นยังสนับสนุนการสร้างหรือเกาะกลุ่มโฮสต์ที่ต้องการได้ด้วย หรือ affinity rule
สิ่งที่จำเป็นต้องมี : Harvester Cluster กับ Longhorn shared storage พร้อมเปิด Kubernetes
จุดแข็ง : ไม่ต้องจ่ายค่าอะไรเพิ่ม โอเพนซอร์ส
ข้อจำกัด : ไม่ความซับซ้อนและการปรับแต่งได้น้อยกว่า VMware DRS และ ไม่มีฟีเจอร์แบบ Predictive DRS
5. NSX
VMware NSX
ทำการ virtualize network หรือที่เรียกว่า Software Defined Networking (SDN) การทำ switching, routing, firewall และ microsegmentation ทำได้จากซอฟต์แวร์ มันสร้างชั้นของเน็ตเวิร์กที่อิสระจากฮาร์ดแวร์ ทำงานประสานกับ vSphere และบริหารจากที่เดียวกัน รวมกับ ActiveDirectory สำหรับงาน Authentication
สิ่งที่จำเป็นต้องมี : vSphere, NSX license (Professional, Advanced, or Enterprise Plus)
จุดแข็ง : มีความแกร่ง และ เหมาะกับองค์กรขนาดใหญ่ ด้วยความปลอดภัยระดับสูง
ข้อจำกัด : ราคาสูงมาก และ มีความซับซ้อน
Harvester Network Virtualization
ด้วยการใช้ Kubernetes และ KubeVirt สนับสนุน Virtual IP, VLAN, multiple NIC, และใช้ bridge ในการจัดการ สนับสนุน DHCP และ trunk
สิ่งที่จำเป็นต้องมี : harvester cluster ด้วยการตั้งค่า VLAN ในโหมด trunk
จุดแข็ง : ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
ข้อจำกัด : อาจจะไม่มีฟีเจอร์ microsegmentation, ditributed firewall และ complex routing ไม่ได้ออกแบบมาสำหรับการข้าม WAN และ cross-data-center