Laptop เครื่องแรกของโลกที่ใช้ RISC-V CPU

Published on June 15, 2024
Laptop เครื่องแรกของโลกที่ใช้ RISC-V CPU

เรามาถึงยุคที่เรามีทางเลือกหลากหลายในการเลือกใช้อุปรกณ์ IT อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนในประวัติศาสตร์ เช่น CPU ซึ่งก่อนหน้านั้นถูกผูกขาดเพียงแค่ผู้ผลิตรายเดียวมาเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 40 ปี ได้ จนมาถึงยุคปัจจุบันที่เรามีสถาปัตยกรรมหลากหลาย เช่นเดียวกับข่าวการเปิดตัวของ Laptop จากบริษัท DeepComputing ที่ใช้ชื่อโมเดลว่า DC-ROMA ข่าวนี้ก็อาจจะดูเหมือนเป็นเรื่องธรรมดา แต่มันไม่ธรรมดามากๆ ตรงที่ Laptop รุ่นนี้ใช้ RISC-V Processor ซึ่งเป็น CPU สถาปัตยกรรมแบบเปิด และ เรียกได้ว่ามันเป็น Laptop ตัวแรกเชิงพาณิชย์ที่ใช้ CPU RISC-V

RISC-V ที่ใช้ใน DC-ROMA นั้นเป็นรุ่น SpacemiT SoC K1 Processor แบบ 8 cores ทำงานที่ 2.0GHz หน่วยความจำ 16GB และใช้ Ubuntu Linux เป็นระบบปฏิบัติการ

Dr. Zhijian Chen ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้ง SpacemiT กล่าวว่า “เราตื่นเต้นอย่างมากในการได้ร่วมงานกับ DeepComputer และ Canonical ในการเปิดตัว DC-ROMA RISC-V Laptop และ เรียกว่ามันเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนาสังคม opensource”

 

risc-v processor

หลายคนสงสัยว่า แล้ว RISC-V นั้นแตกต่างจาก x86 และ ARM อย่างไร เราเลยขอให้ข้อมูลเบื้องต้นดังนี้

RISC-V (Reduced Instruction Set Computer V) เป็นสถาปัตยกรรมหน่วยประมวลผลที่เปิดเผย (open-source) ซึ่งมีความแตกต่างจากสถาปัตยกรรม ARM และ x86 ในหลายๆ ด้านดังต่อไปนี้

1. สถาปัตยกรรมพื้นฐาน
– RISC-V: ใช้หลักการออกแบบแบบ RISC (Reduced Instruction Set Computer) ที่เน้นชุดคำสั่งที่เล็กและเรียบง่าย ทำให้การดำเนินการแต่ละคำสั่งใช้เวลาน้อยและมีประสิทธิภาพสูง
– ARM: ก็ใช้หลักการ RISC เช่นกัน แต่มักมีการออกแบบที่ซับซ้อนกว่า RISC-V และมีสิทธิบัตรที่ปกป้องเทคโนโลยีของตนเอง ซึ่งบริษัท ARM Holdings plc ในอังกฤษเป็นผู้คิดค้นและถือสิทธิบัตร
– x86: ใช้หลักการ CISC (Complex Instruction Set Computer) ซึ่งมีชุดคำสั่งที่ใหญ่และซับซ้อนกว่า ทำให้แต่ละคำสั่งสามารถทำงานได้หลายอย่างในครั้งเดียว แต่ซับซ้อนในการออกแบบและผลิต

2. การเปิดเผยและการใช้งาน
– RISC-V: เป็นสถาปัตยกรรมที่เปิดเผย (open-source) ทำให้ทุกคนสามารถใช้ ปรับปรุง และพัฒนาได้โดยไม่มีข้อจำกัดทางสิทธิบัตร
– ARM: เป็นสถาปัตยกรรมที่มีลิขสิทธิ์และต้องการสิทธิ์การใช้งานจาก ARM Holdings สำหรับการออกแบบและผลิต ซึ่งนั่นหมายความว่าการผลิต ARM processor ทุกครั้งต้องขอสิทธิ์จากบริษัท ARM ซึ่งที่ผ่านมามีเพียงไม่กี่รายที่ได้รับสิทธิ์นั้น
– x86: เป็นสถาปัตยกรรมที่ถือครองโดย Intel และ AMD ซึ่งมีสิทธิบัตรปกป้องการใช้งานและการผลิต

3. ความยืดหยุ่นและการขยายตัว
– RISC-V: มีการออกแบบที่โมดูลาร์ ทำให้สามารถเพิ่มหรือลดฟีเจอร์ตามความต้องการได้ง่าย เช่น การเพิ่มชุดคำสั่งเฉพาะทาง (extensions) หรือการลดชุดคำสั่งให้เล็กลง
– ARM: มีการออกแบบที่ค่อนข้างยืดหยุ่น แต่การเพิ่มหรือลดฟีเจอร์ต่างๆ ต้องผ่านกระบวนการขอสิทธิ์การใช้งานและการตรวจสอบจาก ARM Holdings
– x86: มีความยืดหยุ่นน้อยกว่า เนื่องจากเป็นสถาปัตยกรรมที่มีการออกแบบและการพัฒนามาอย่างยาวนาน ทำให้มีการเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ ได้ยากและต้องรักษาความเข้ากันได้ย้อนหลัง

4. ประสิทธิภาพและพลังงาน
– RISC-V: เน้นการออกแบบที่เรียบง่ายและมีประสิทธิภาพสูง ทำให้ใช้พลังงานน้อยและเหมาะสำหรับอุปกรณ์ที่ต้องการประหยัดพลังงาน
– ARM: มีการออกแบบที่เน้นทั้งประสิทธิภาพและการประหยัดพลังงาน ทำให้นิยมใช้ในอุปกรณ์พกพาและ IoT
– x86: มุ่งเน้นประสิทธิภาพสูง แต่การใช้พลังงานจะมากกว่า RISC-V และ ARM ทำให้เหมาะสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและเซิร์ฟเวอร์มากกว่า

5. การสนับสนุนและชุมชน
– RISC-V: มีชุมชนที่เปิดกว้างและสนับสนุนจากองค์กรหลายแห่ง ซึ่งสามารถเข้าร่วมและพัฒนาร่วมกันได้ RISC-V International (riscv.org)
– ARM: มีชุมชนผู้ใช้และผู้พัฒนาที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะในด้านมือถือและอุปกรณ์พกพา
– x86: มีการสนับสนุนจากผู้ผลิตซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์หลายแห่ง รวมถึงมีการใช้งานในวงกว้างทั่วโลก

6. การประยุกต์ใช้งาน
– RISC-V: เหมาะสำหรับการใช้งานในอุปกรณ์ IoT, embedded systems, และงานที่ต้องการประหยัดพลังงานสูง แต่ปัจจุบันก็สามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบแล้ว
– ARM: ใช้งานในอุปกรณ์พกพา, สมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต, และบางส่วนของ embedded systems
– x86: ใช้ในคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ, เซิร์ฟเวอร์, และโน้ตบุ๊ค

สรุปแล้ว RISC-V มีความยืดหยุ่นสูง เปิดเผย และเหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการประหยัดพลังงาน ขณะที่ ARM มีความนิยมในอุปกรณ์พกพา และ x86 เหมาะสำหรับคอมพิวเตอร์และเซิร์ฟเวอร์ที่ต้องการประสิทธิภาพสูง

 

Creating Proxmox VE Cluster

สำหรับ Proxmox VE นั้นแน่นอนว่าสนับสนุนการทำ Clustering ในตัวอยู่แล้วเพื่อทำให้ระบบมี การจัดการทรัพยากรของเซิร์ฟเวอร์หลายเครื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มความสามารถในการสำรองข้อมูล, การย้ายเครื่องเสมือน (VM)...

Read more »

Updating ML30 Gen10 Firmware with ILOREST

แน่นอนว่าการอัพเดท firmware ของทั้ง BIOS และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดใน Server นั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่า เพื่อความปลอดภัย และ...

Read more »

Switches เดสก์ท็อปสวิตช์ 10/100Mbps 10 ช่อง

แนะนำอุปกรณ์ใหม่ มาแรง ใช้งานง่าย! Switches อุปกรณ์ต่อพ่วง Network Computer เดสก์ท็อปสวิตช์ 10/100Mbps 10...

Read more »

how to apply license key on a Proxmox VE host

สำหรับวันนี้ เราจะมาสอนเรื่องการ Activate License Key สำหรับ Proxmox VE กัน ซึ่งแน่นอนว่า...

Read more »

configuring multiple VLANs in Proxmox VE

การกำหนด VLAN หลายตัว (Multiple VLAN) ใน Proxmox VE สำหรับการกำหนด VLAN...

Read more »

Verifying Files with MD5 Checksum

สำหรับการตรวจสอบความถูกต้องหรือความสมบูรณ์ของไฟล์เนี่ย ได้ทวีความสำคัญขึ้นมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เพราะภัยทางอินเตอร์เน็ตนั้นเยอะขึ้นมาก เพราะฉะนั้นหากคุณดาวน์โหลดไฟล์แล้วไม่ตรวจสอบค่า checksum เพื่อยืนยันความถูกต้องของผู้ผลิตไฟล์อีกที มันก็จะเป็นการเสี่ยงที่ท่านจะได้ไฟล์ซึ่งอาจจะมีโปรแกรมหรือสิ่งไม่พึงประสงค์ไปด้วย และ เทคโนโลยีในการตรวจสอบไฟล์นั้น ก็คือ...

Read more »