การติดตั้ง Microsoft Exchange Server Security Updates

Published on February 3, 2023
การติดตั้ง Microsoft Exchange Server Security Updates

การติดตั้ง Microsoft Exchange Server Security Updates

 

Microsoft ได้ออกมาแนะนำให้ท่านทำการอัพเดท Exchange Server แบบ On Premise โดยตัวอัพเดทล่าสุดคือ Security Update for Microsoft Exchange ที่ออกมาในเดือน ม.ค. 2023 โดยถ้าไม่นับรวม Security Update ตัวล่าสุดนี้ ตัวอัพเดทล่าสุดของ Exchange Server แต่ละ Version คือ

  • CU12 for Exchange Server 2019
  • CU23 for Exchange Server 2016
  • CU23 for Exchange Server 2013

โดย CU อัพเดททุกตัวนั้น มีคุณสมบัติโดยที่ไม่จำเป็นจะต้องทำต่อกัน นั่นหมายถึง ท่านติดตั้งเฉพาะตัวใหม่ล่าสุดเท่านั้น เช่น ถ้าท่านใช้ Microsoft Exchange Server 2016 อยู่และใช้ CU10 อยู่ ท่านสามารถติดตั้ง CU23 ลงไปได้เลย

โดยสำหรับ Security Updates ตัวล่าสุดที่ทางไมโครซอฟต์ออกมานั้น เป็นเพราะว่าทางทีมของไมโครซอฟต์เองได้เจอช่องว่างดังกล่าวเข้า โดยที่ทางไมโครซอฟต์กล่าวว่า ช่องโหว่ดังกล่าวยังไม่ถูกใช้หรือถูกค้นพบโดยกลุ่ม hacker

สำหรับ การอัพเดทด้วย Security Update ตัวล่าสุดนั้นจะมีเส้นทางการอัพเดทดังต่อไปนี้

 

Microsoft Exchange Server Security Updates Diagram

 

รูปที่ 1

 

ซึ่งจากรูปแสดงให้เห็นว่า ถ้าท่านใช้ CU ตัวล่าสุดมาก่อนหน้านี้ ท่านก็เพียงดาวน์โหลด Security Update ตัวนี้ไปติดตั้ง แต่ !!! ถ้าท่านยังไม่เคยติดตั้ง CU ตัวใดเลย ท่านจะต้องทำการอัพเดท CU ตัวปัจจุบันก่อนทำการอัพเดทด้วย Security Update (SU)

ข้อควรระวัง

  • ถ้า Exchange Server 2016 ของท่าน ถูกติดตั้งบน Windows Server 2012 R2 หลังจากท่านติดตั้ง Exchange Server January 2023 Security Update(SU) service ของ Exchange อาจจะไม่ถูกสตาร์ทขึ้นมาเอง แต่ท่านสามารถทำการสตาร์ทด้วยตัวเองได้ หรือ หากยังไม่สามารถแก้ไขได้ ท่านจะต้องทำตาม link ของ Microsoft https://support.microsoft.com/en-us/topic/some-exchange-services-do-not-start-automatically-after-installing-january-2023-security-update-2abd76a6-9dea-46a6-8d75-af12c0ad6e76
  • การติดตั้ง SU บน Exchange 2016 หรือ 2019 อาจจะทำการการ preview page บน OWA นั้นได้ไม่สวยงาม หรือขาด ๆ เกิน ๆ ซึ่งอันนี้เป็นส่วนรองและจะมีการแก้ไขใน SU ตัวถัดไป

สำหรับการตรวจสอบว่า ท่านใช้ Exchange Server พร้อมด้วย Cumulative Update (CU) ตัวใดอยู่นั้น ท่านสามารถใช้คำสั่ง

 

Get-ExchangeServer | Format-List Name,Edition,AdminDisplayVersion

 

พิมพ์ใน Exchange Management Shell ได้เลย หลังจากนั้น ให้ท่านคลิกที่ https://learn.microsoft.com/en-us/exchange/new-features/build-numbers-and-release-dates เพี่อเปรียบเทียบกับตารางว่า build number ดังกล่าว ที่ท่านใช้อยู่นั้นตรงกับ Cumulative update (CU) หรือ Security Update (SU) ตัวใด และในเพจเดียวกัน ก็ยังจะมี link สำหรับการดาวน์โหลด Security Update (SU) อยู่ด้วย ท่านสามารถทำการคลิ้กเพื่อดาวน์โหลดได้เลย หรือคลิกที่ Link นี้เพื่อทำการดาวน์โหลดโดยตรง https://www.microsoft.com/en-us/download/details.aspx?id=104914  โดย สภาพแวดล้อมที่เราจะทำการแสดงการอัพเดทในวันนี้จะเป็น Exchange Server 2016 with CU23 ติดตั้งบน Windows Server 2016

เมื่อท่านทำการดาวน์โหลด SU 5 ล่าสุดมาแล้ว ท่านจะได้ไฟล์ดังรูปที่ 2

 

Exchange Server 2016 with CU23

รูปที่ 2

 

หลังจากนั้นให้ท่านทำการ ดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์ได้เลย

 

Setup Microsoft Exchange Server Security Updates

รูปที่ 3 ระบบแสดง หน้าจอแรกหลังจากการดับเบิ้ลคลิก พร้อมทั้งบอกว่า กำลังเช็คความพร้อมของเครื่อง รวมถึงเนื้อที่ว่างที่จำเป็นต้องการอัพเดท

 

Setup Microsoft Exchange Server Security Updates

รูปที่ 4 ระบบทำเช็คความพร้อมเสร็จสิ้น และ ให้ท่านคลิก Next เพื่อดำเนินการต่อ

 

Setup Microsoft Exchange Server Security Updates2

รูปที่ 5 ให้ท่านเลือก I accept the License Terms เพื่อยอมรับเงื่อนไขการใช้งาน

Setup Microsoft Exchange Server Security Updates3

รูปที่ 6 ระบบเริ่มทำการปิด service Exchange และเริ่มทำการอัพเดท

Setup Microsoft Exchange Server Security Updates

รูปที่ 7 ระบบแจ้งว่าได้ทำการอัพเดทเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลังจากนั้นจะเตือนให้ท่านทำการ restart เครื่อง ขอให้ท่านกด yes เพื่อทำการ restart เครื่องของท่าน

 

หลังจากเครื่องกลับมาใช้งานได้ปกติอีกครั้งหนึ่ง ท่านสามารถใช้คำสั่ง

 

Get-ExchangeServer | Format-List Name,Edition,AdminDisplayVersion

 

เพื่อทำการเช็คว่าปัจจุบันท่านใช้ Build อะไร ท่านก็จะได้ผลลัพธ์ดังรูปที่ 8

Build Number Exchange Server 2016

รูปที่ 8 แสดง Build Number ของ Exchange Server 2016 หลังการอัพเดทด้วย SU 5

 

แล้วพบกับ บทความใหม่ๆ จาก AVESTA ได้ในอนาคต

AVESTA CO., LTD. ให้บริการเขียนซอฟต์แวร์ ติดตั้ง รับเป็นที่ปรึกษา รวมถึงระบบสำรองข้อมูล ด้วยประสบการณ์ยาวนานนับสิบปี

Enterprise SSD Form Factor for Virtualization

สำหรับความเร็วนั้นต้องบอกว่า เป็นสิ่งที่ทุกองค์กรไฝ่หา เพราะความเร็วเป็นความได้เปรียบทางธุรกิจไปแล้วในปัจจุบัน และหน่วยเก็บข้อมูลนั้น ก็มีส่วนอย่างมาก ที่เป็นปัจจัยที่จะทำให้การประมวลผลโดยรวมนั้นช้าหรือเร็ว วันนี้เราจึงพาไปรู้จักกับเทคโนโลยีการเก็บข้อมูลที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน ด้วย Form Factor...

Read more »

วิธีการ Backup & Recovery for VMs ด้วย DatApp-NBP

DatApp NBP เป็นแพลตฟอร์มสำรองข้อมูลแบบรวมศูนย์ ที่สามารถจัดการและสำรองข้อมูลจากระบบไอทีหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น VM, Container, Physical Server, หรือ...

Read more »

software based storage replication คืออนาคตที่แท้จริง

ทำไม Software-Based Storage Replication จึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่าในยุคปัจจุบัน? ก่อนอื่นต้องบอกว่า Hardware based storage replication...

Read more »

Benefits of having your own WordPress ecommerce site

WordPress คืออะไร WordPress เป็นระบบจัดการเนื้อหา (Content Management System: CMS) แบบโอเพนซอร์ส ที่มีการใช้งานมานานกว่า...

Read more »

วิธีการตั้งค่า Cluster HA & Ceph Storage Proxmox VE ให้พร้อมใช้งาน EP3/3

ในระบบไอทีที่ต้องการความต่อเนื่องในการให้บริการอย่างสูง เช่น ระบบฐานข้อมูล, เว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือแอปพลิเคชันระดับองค์กร การหยุดทำงานของเครื่องแม่ข่าย (Server) อาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อผู้ใช้งานและธุรกิจโดยรวม เมื่อคุณมีทั้ง Cluster...

Read more »

Migrate from VMware ESXi to Hyper-V

เนื่องจากราคาค่าบริการของ VMware ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งเฉลี่ยแล้วไม่น้อยว่า 15 เท่าจากราคาเดิม สำหรับค่าลิขสิทธิ์ ทำให้หลายต่อหลายองค์กรมองหาทางเลือกใหม่ สำหรับ Hypervisor...

Read more »