การติดตั้ง Unifi Controller Network Server บน Ubuntu แบบละเอียด

Published on January 12, 2024
การติดตั้ง Unifi Controller Network Server บน Ubuntu แบบละเอียด

Unifi Controller เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการ ควบคุมอุปกรณ์เครือข่าย โดยบริษัท Ubiquiti Networks ซึ่งได้รวมอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น access points, switches, gateways, และกล้องวงจรปิด UniFi Video รวมทั้งรุ่นที่ทำงานในโหมด Cloud Key (อุปกรณ์ที่ใช้งานเป็นตัว Controller) หรือการติดตั้งบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ในโหมด Standalone.

 

UniFi Controller ทำหน้าที่หลายอย่าง

การจัดการและติดตั้งอุปกรณ์: ช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถติดตั้งและจัดการอุปกรณ์ต่าง ๆ ในเครือข่ายได้สะดวกยิ่งขึ้น เช่น access points, switches, gateways เป็นต้น

การตรวจสอบสถานะและประสิทธิภาพ: สามารถตรวจสอบสถานะของอุปกรณ์แต่ละตัว, ดูข้อมูลเชิงพื้นที่และผลิตภัณฑ์ที่เชื่อมต่อ, และตรวจสอบประสิทธิภาพของเครือข่าย

การจัดการการตั้งค่าเครือข่าย: ช่วยในการกำหนดค่าต่าง ๆ เช่น VLAN, การตั้งค่าไวไฟ, และการกำหนดสิทธิ์ผู้ใช้

การจัดการระบบป้องกันการบุกรุก: ช่วยในการควบคุมการเข้าถึงและป้องกันการบุกรุกต่าง ๆ ในเครือข่าย

สำหรับ “Unifi Controller Network Server” เป็นเซิร์ฟเวอร์ที่ทำหน้าที่เป็น Controller Network Server หรือ การควบคุม จัดการ การใช้งานจากส่วนกลางของ Ubiquiti  ซึ่งสามารถทำงานบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์หรือ Cloud Key ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้การจัดการ Unifi Controller เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

 

ติดตั้ง Unifi controller network server  บน ubuntu server ให้พร้อมติดตั้ง

Software UniFi Controller

  1. ติดตั้ง  ubuntu server ให้พร้อมติดตั้ง

Software UniFi Controller1

 

2. เข้าใช้งานผ่าน โปรแกรม PuTTY ในการ remote เข้าใช้งาน  ubuntu server

 

Software UniFi Controller

3. ล็อกอินเข้า ubuntu server ด้วย Username / password ที่กำหนดไว้

 

การติดตั้ง Unifi Controller Network Server บน Ubuntu

Software UniFi Controller

1. ก่อนที่เราจะเริ่ม เราจะต้องอัปเดตรายการแพ็คเกจของ Ubuntu ก่อน  โดยใช้ apt สามารถดาวน์โหลดได้ด้วยคำสั่ง

sudo apt update

 

Software UniFi Controller5

2. ติดตั้งแพ็คเกจ บางอย่างที่เราต้องใช้เพื่อเพิ่มที่เก็บแพ็คเกจที่เราต้องการ รวมถึงเรียกใช้ตัวควบคุมเครือข่าย UniFi ใช้คำสั่งต่อไปนี้เพื่อติดตั้งแพ็คเกจ “ wget“, “ gpg“, “ openjdk-8-jre-headless“ และ “ havegd” ไปยัง Ubuntu

sudo apt install curl haveged gpg openjdk-8-jre-headless

กด Y แล้ว Enter

 

Software UniFi Controller6

3. ดาวน์โหลดคีย์ UniFi GPG ลงในระบบ ดาวน์โหลดคีย์ UniFi GPG ลงในระบบ

curl https://dl.ui.com/unifi/unifi-repo.gpg | sudo tee /usr/share/keyrings/ubiquiti-archive-keyring.gpg >/dev/null

 

Software UniFi Controller7

 

4. บันทึกคีย์ UniFi GPG ลงใน Ubuntu

echo 'deb [signed-by=/usr/share/keyrings/ubiquiti-archive-keyring.gpg] https://www.ui.com/downloads/unifi/debian stable ubiquiti' | sudo tee /etc/apt/sources.list.d/100-ubnt-unifi.list > /dev/null

 

การติดตั้ง Libssl1.1

 

Software UniFi Controller8

5. เนื่องจากเวอร์ชันของ MongoDB จำเป็นต้องเรียกใช้คอนโทรลเลอร์ Unifi ต้องใช้ LibSSL เวอร์ชันเก่า เราจึงต้องติดตั้งแพ็คเกจนี้ด้วย

wget http://archive.ubuntu.com/ubuntu/pool/main/o/openssl/libssl1.1_1.1.1f-1ubuntu2_amd64.deb -O libssl1.1.deb

 

6. ด้วยแพ็คเกจ LibSSL1.1 ที่ดาวน์โหลดไปยังอุปกรณ์ Ubuntu ของคุณ คุณสามารถติดตั้งได้โดยการรันคำสั่งต่อไปนี้

sudo dpkg -i libssl1.1.deb

 

การเพิ่มพื้นที่เก็บข้อมูล MongoDB

Software UniFi Controller9

7. เพิ่มพื้นที่เก็บข้อมูลสำหรับ MongoDB 4.4 ก่อนที่จะเพิ่มที่เก็บ MongoDB ต้องทำการดาวน์โหลดคีย์ GPG โดยใช้คำสั่ง

curl https://pgp.mongodb.com/server-4.4.asc | sudo gpg --dearmor | sudo tee /usr/share/keyrings/mongodb-org-server-4.4-archive-keyring.gpg >/dev/null

 

Software UniFi Controller10

8. การเพิ่มพื้นที่เก็บข้อมูล MongoDB 4.4 ลงใน Ubuntu ใช้คำสั่งด้านล่าง เพื่อเพิ่มพื้นที่เก็บข้อมูล MongoDB 4.4

echo 'deb [arch=amd64,arm64 signed-by=/usr/share/keyrings/mongodb-org-server-4.4-archive-keyring.gpg] https://repo.mongodb.org/apt/ubuntu focal/mongodb-org/4.4 multiverse' | sudo tee /etc/apt/sources.list.d/mongodb-org-4.4.list > /dev/null

 

การติดตั้ง MongoDB

 

Software UniFi Controller11

9. ทำการอัปเดต apt package manager ใหม่ใช้คำสั่งด้านล่าง

sudo apt update

 

Software UniFi Controller12

10. ติดตั้ง MongoDBไปยัง Ubuntu ได้โดยการรันคำสั่งด้านล่าง

sudo apt install -y mongodb-org-server

 

Software UniFi Controller13

11. หลังจากติดตั้ง MongoDB เราต้องการให้แน่ใจว่าบริการของมันเปิดใช้งานเพื่อเริ่มต้นหลังจากบูทระบบ รันคำสั่ง

sudo systemctl enable mongod

 

Software UniFi Controller14

12. เช็ค MongoDB เราต้องการให้แน่ใจว่าบริการของมันว่าทำงานยัง โดยรันคำสั่งนี้จะเริ่มต้น MongoDB บน Ubuntu ทันที

sudo systemctl start mongod

 

การติดตั้ง UniFi Network Controller

Software UniFi Controller16

13. ทำการติดตั้ง UniFi controller ลงใน Ubuntu ด้วยคำสั่งนี้

sudo apt install unifi

 

การเข้าถึงตัวควบคุม UniFi Network Controller

Software UniFi Controller17

14. เช็ค Ip address เครื่อง UniFi controller Server ว่าได้อะไร ด้วยคำสั่งนี้

hostname -I

 

Software UniFi Controller19

15. เมื่อ Ip address เครื่อง UniFi controller Server แล้ว การเรียกใช้งานบนเว็บเบราเซอร์ จะกำหนดแทนด้วย Ip address ตามด้วย Port 8443 ดังตัวอย่าง

https://IPADDRESS:8443

 

Software UniFi Controller20

16. เข้าสู่หน้า UniFi Network Controller

เท่านี้ก็ติดตั้ง UniFi Network Controller บน Ubuntu  เรียบร้อย ซึ่งขั้นตอนการติดตั้งไม่ยากเลย  EP ถัดไปจะทำการตั้งค่าระบบ พร้อมกับนำอุปกรณ์ Ubiquiti Network ที่จะต้องใช้มาใช้งาน

AVESTA  ให้บริการทั้งงานขายระบบ System , Networks  ติดตั้ง อัพเกรด Configure และอื่น ๆ หากท่านมีคำถามสามารถติดต่อเพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับการบริการของเราได้ตลอดเวลา ด้วยประสบการณ์ยาวนานนับสิบปี

วิธีการตั้งค่า VLAN บนอุปกรณ์ Ovolink GS1110P 8-Port PoE Smart Managed Switch

Ovolink’s Smart Managed Gigabit PoE+ ที่มีการจัดการอัจฉริยะของ Ovolink เป็นโซลูชั่นที่ดีเยี่ยมสำหรับเครือข่ายในบ้านและสำนักงานขนาดเล็กที่ซับซ้อนมากขึ้น GS1110P มอบความสามารถด้านเครือข่ายที่กำหนดค่าได้สูง...

Read more »

วิธีการทำ vlan trunk จาก L2 Switch ไปยัง Mikrotik Router

VLAN ย่อมาจาก Virtual Local Area Network หรือเครือข่ายแบบเสมือนของพื้นที่เชื่อมต่อท้องถิ่น เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยแยกเครือข่ายโดยทำให้เครือข่ายภายในองค์กรหรือองค์กรภายนอกแยกเป็นกลุ่มย่อยๆ ที่แตกต่างกัน โดยที่กลุ่มย่อยแต่ละกลุ่มนั้นไม่สามารถสื่อสารกันได้โดยตรง...

Read more »

ทำไม Proxmox Virtual Environment (PVE) ถึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดของ Hypervisor

Proxmox Virtual Environment (PVE) เป็น Hypervisor และ Platform ในการจัดการ Virtual...

Read more »

วิธีการตั้งค่า VLAN บนอุปกรณ์ TP-Link Smart Switch TP-SG105PE รุ่นจิ๋วมากด้วยความสามารถ ในราคาสบายกระเป๋า

TP-Link TL-SG105PE เป็น Switch  ที่มีความเร็ว 5 Port ที่รองรับ Gigabit Ethernet...

Read more »

วิธีการติตตั้ง Kali Linux บน VMware vsphere

Kali Linux เป็นระบบปฏิบัติการ Linux ที่พัฒนาขึ้นโดย Offensive Security โดยเฉพาะสำหรับการทดสอบความปลอดภัยและการทดสอบทางไซเบอร์ เป็นเครื่องมือสำหรับแอปพลิเคชันต่าง ๆ...

Read more »

วิธีการติตตั้ง Burp Suite Enterprise เครื่องมือด้านความปลอดภัยสำหรับเว็บแอปพลิเคชัน

Burp Suite Enterprise เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับการทดสอบความปลอดภัยของเว็บแอปพลิเคชัน (Web Application Security Testing) ซึ่งถูกพัฒนาโดยบริษัท PortSwigger...

Read more »