สวัสดีครับ วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับเทคโนโลยี Traditional Approach และ Hyper-Converged
เริ่มกันด้วย Traditional Approach
Traditional Approach เป็นการใช้ Server ทำหน้าที่ประมวลผล DATA ต่างๆ สามารถเพิ่ม CPU RAM ตามที่เราต้องการ เชื่อมต่อกับ Storage ทำหน้าที่เก็บข้อมูล ประกอบด้วย Storage controller และ Disk ซึ่ง Server กับ Storage แยกการทำงานกันอย่างชัดเจน ตัวอย่างดังแผนภาพด้านล่าง
Hyper-Convergence
เป็นการนำ Server และ Storage มาอยู่ใน Box เดียวกันทำหน้าที่เป็น Server หรือ Storage สามารถรองรับการขยายได้ (scalable) โดยใช้ software Defined เพื่อให้ Hardware ทุกๆเครื่องเชื่อมหากัน
เปรียบเทียบการใช้งาน Storage แบบต่างๆ
ที่มา : https://www.slideshare.net/VMworld/vmworld-2013-softwaredefined-storage-the-vcdx-way
1. Physical คือ Server ที่แยกการทำงานกันอย่างชัดเจน ซึ่ง Server แต่ละเครื่อง เชื่อมต่อ Storage บน SAN หรือ NAS เดียวกัน
ต่อมาเป็นแบบ
2. Virtual โดยการนำ Server มาลง Hypervisor แล้วติดตั้ง Guest VM เชื่อมต่อ Storage บน SAN หรือ NAS เดียวกัน
แบบ
3. Software Defined Storage (SdS) โดยการนำ Server มาลง Hypervisor แล้วติดตั้ง Guest VM เชื่อมต่อ Storage บน SAN NAS หรือ DAS ซึ่ง DAS จะช่วยลดความเสี่ยงของ Server ต่างจากเดิมที่ Storage ไปอยู่หลัง Server หากเครื่องใดเครื่องหนึ่ง Storage พังก็จะล้มทั้งระบบ
เจาะลึก Hyper-Convergence
Hyper-Convergence เป็นระบบใหม่ คือการนำ Server มาลง Hypervisor ตัวอย่างเช่น VMware ESXi หรือ Microsoft Hyper-V แล้วสร้าง Guest VM ขึ้นมา 1 ตัวสำหรับติดตั้ง Software จากนั้นดึง Disk จาก Server ทุกเครื่องมาทำ Storage Pool โดยทุกค่ายใช้โปรโตคอลมาตรฐาน NFS แล้วให้ Server แต่ละเครื่องใช้งาน Storage Pool ร่วมกัน
การเชื่อมต่อเป็นแบบ Server to Server อาจจะต่อกันด้วย Fiber Channel เพื่อให้ได้ความเร็ว โดย HCI ส่วนใหญ่ใช้ Network ระดับ 10Gb เทียบได้กับ Interface transfer rate ของ Storage ได้
ข้อเสียของ Hyperconverged คือหากต้องการเพิ่ม Disk 10TB ต้องทำการเพิ่มทั้งโหนด ต่างจากแบบ Traditional Approach ที่สามารถเพิ่มเพียง Disk อย่างเดียวก็ได้ แต่สำหรับ Hyper-Converged จะให้ความเร็วมากกว่า หากโหนดเต็มก็ทำการเพิ่มโหนดได้อย่างรวดเร็ว และง่ายต่อการคำนวณงบประมาณเพราะซื้อทั้งโหนด
HCI Architectures
– จำนวนโหนดต่ำสุด 2 – 3 โหนด (แนะนำ 3 โหนดขึ้นไป)
– เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ใกล้เคียงกัน
Disk
– Hybrid : ลูกผสม (SSD + HDD)
– All-Flash : SSD
Network
– ระดับ 1GB
– ระดับ 10GB (แนะนำ)
Data Trering
หากทำเป็นแบบ Hybrid แบ่งการทำ Data Storage เป็น 2 Trering คือ
1. Cache ค่า Cache มาก Performance ก็มาก โดยข้อมูลทั้งหมดจะถูกส่งไปยัง caching ของ SSD ทั้งการอ่านและการเขียน ก่อนที่จะไปเขียนลง Data Storage จริง
2. การจะจายข้อมูล HCI Data Hight Availability จะใช้วิธีการกระจายในการเขียน เช่น Data เข้ามา 1 ชุด จะทำการเขียนหลาย copy เช่น RF3 จะแบ่งการเขียนเป็น 3 ชุดกระจายไปยังโหนด ซึ่งไม่มีการทำ RAID แล้ว
เช่น 3Gbps สำหรับ NFS , 2.5Gbps สำหรับ VM เป็นต้น
AVESTA CO., LTD. คือตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของ Sangfor ซึ่งเรามีทีมงานขาย และ สนับสนุนทางเทคนิค ที่พร้อมดูแลท่าน และ ให้บริการครบวงจร ตั้งแต่ ออกแบบ จำหน่าย ติดตั้ง และ ให้คำปรึกษา ติดต่อเราวันนี้ ที่เบอร์ +66(0)45-959-612 หรือ [email protected]
ขอบคุณภาพจาก Cisco และ TechTalk Thai : https://www.youtube.com/watch?v=NJd3Ml-4HTY