VLAN ย่อมาจาก Virtual Local Area Network หรือเครือข่ายแบบเสมือนของพื้นที่เชื่อมต่อท้องถิ่น เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยแยกเครือข่ายโดยทำให้เครือข่ายภายในองค์กรหรือองค์กรภายนอกแยกเป็นกลุ่มย่อยๆ ที่แตกต่างกัน โดยที่กลุ่มย่อยแต่ละกลุ่มนั้นไม่สามารถสื่อสารกันได้โดยตรง ซึ่งเพื่อประโยชน์จากการแยกเครือข่ายเป็นชั้น
Trunk หมายถึงเส้นทางการสื่อสารที่สามารถส่งข้อมูลจากหลาย VLAN ไปยังอุปกรณ์อื่น ๆ ได้ โดยอุปกรณ์ที่มีการตั้งค่าเป็น trunk จะส่งข้อมูลของแต่ละ VLAN โดยใช้การแท็ก (tagging) ซึ่งจะระบุให้รับรู้ว่าข้อมูลนั้นเป็นของ VLAN ใด อย่างไรก็ตาม ในกรณีของการใช้งาน VLAN trunk นั้น จะมีการกำหนดพอร์ตที่เป็น trunk ในทั้งสองด้านของเชื่อมต่อ ซึ่งสามารถเห็นได้ในทั้งอุปกรณ์เครือข่าย L2 Switch และ Router หรือ Layer 3 Switch เช่น MikroTik Router
การทำ VLAN trunking จาก L2 Switch ไปยัง MikroTik Router มักจะใช้การตั้งค่าที่ชื่อว่า 802.1Q VLAN tagging ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับการทำ VLAN trunking ในระดับเลเยอร์ 2 (Data Link Layer) ของ OSI Model ไปดูกัน
วิธีการทำ vlan trunk จาก L2 Switch ไปยัง Mikrotik Router
อุปกรณ์ในการทำดังนี้
ตรวจสอบว่ามีการตั้งค่าพอร์ตที่ต้องการให้เป็น trunk หรือไม่ โดยแนะนำให้ใช้พอร์ตที่มีความสามารถในการสนับสนุนการทำงานแบบ trunk และสามารถกำหนดการทำงานแบบ trunk ได้ โดยเราจะใช้ Switch รุ่น tp-link TL-SG3210
สำหรับการตั้งค่าอุปกรณ์มีดังนี้
Trunk port = port 8
Port default = port 1
Port 3 = Vlan 53 Tagged port 8
Port 4 = Vlan 54 Tagged port 8
Port 5 = Vlan 55 Tagged port 8
เข้าสู่ระบบ
หน้าแดชบอร์ด
1.1 สร้าง VLAN และ กำหนด Trunk Port, Untagged Port , Tagged Port
โดยกำหนดดังนี้
กำหนด VLAN
กำหนด Trunk Port, Untagged Port , Tagged Port
1.2 ตั้งค่าพอร์ต (Port Config)
เท่านี้การตั้งค่า Switch รุ่น tp-link TL-SG3210 การสร้าง VLAN การกำหนด Trunk Port, Untagged Port , Tagged Port เสร็จเรียบร้อย
2. ต่อไปจะไปทำการตั้งค่า MikroTik Router
เพื่อเชื่อมต่อกับพอร์ตที่มีการตั้งค่าเป็น trunk บน L2 Switch เราจะใช้ MikroTik cloud router switch crs309-1g-8s+in
2.1 เข้าใช้งานผ่าน winbox
เข้าสู่ระบบ
2.2 ทำการสร้าง Bridge
สร้าง Bridge
2.3 สร้าง VLAN Interface
สร้าง VLAN Interface
2.4 กำหนด IP Address ให้กับ Interface
เลือกเมนู IP Address
กำหนด IP Address
2.5 กำหนดค่า DHCP server ให้กับ VLAN
2.6 วิธี Rename address pool
– เลือก address pool
– แก้ไข address pool เพื่อให้สอดคล้องกับการเรียกใช้งานใน DHCP server
2.7 วิธีกำหนดค่า NAT
2.8 วิธีเพิ่ม Interface Port ของอุปกรณ์
*** เพราะเราไม่ได้ใช้งาน VLAN ผ่านตัว Mikrotik ผ่านไปยังอุปกรณ์อื่นยกเว้นการทำ vlan trunk เพื่อเชื่อมไปยัง Switch tp-link TL-SG3210 เพื่อจ่าย IP Address ไปยังอุปกรณ์ต่าง ๆได้ถูก VLAN ที่เรากำหนดไว้
2.9 เปิด Filtering VLAN Bridge เพื่อให้ VLAN ที่เรากำหนดทำงาน
2.10 กำหนคค่า Trunk Port เพื่อกำหนด VLANs
โดยทำการเลือก Untagged Port และ Tagged Port นั้นๆ ตามที่กำหนด
ตัวอย่าง VLAN 50
หมายเหตุ
– Untagged Port คือ การกำหนดให้ VLAN ID ไปใช้งานเป็นลักษณะ Access เมื่อมีไว้ทำอะไรเชื่อมต่อไปยังเครื่องปลายทาง เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ workstation นั้น ๆ จะได้รับ IP address ได้ทันที
– Tagged Port คือ การกำหนด ให้ VLAN ID ไปใช้งานเป็นลักษณะ Trunk Port เมื่อมีไว้ทำอะไรเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่รองรับ ระบบVlan ใช้งาน เช่น Switch (Tagged Port จะไม่แจก ip หากไม่ถูกใช้งานผ่าน vlan id)
2.11 ทดสอบ ping gateway ว่าเจอไหม
2.12 ทดสอบ ping ว่าออกเน็ตได้ไหม
2.13 ทดสอบว่าได้ VLAN ตามที่ต้องการหรือไม่ เพียงนำสายแลน ไปต่อกับ Switch tp-link TL-SG3210 แล้วไปเชื่อมต่อกับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เราจะได้ IP Address ตาม Port ที่เรากำหนด VLAN ไว้
วิธีการทำ vlan trunk จาก L2 Switch ไปยัง Mikrotik Router เสร็จสมบูรณ์แล้ว
AVESTA ให้บริการทั้งงานขายระบบ System , Networks ติดตั้ง อัพเกรด Configure และอื่น ๆ หากท่านมีคำถามสามารถติดต่อเพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับการบริการของเราได้ตลอดเวลา ด้วยประสบการณ์ยาวนานนับสิบปี