ความเสี่ยงเรื่องการเกิดแผ่นดินไหวและผลกระทบต่อระบบคอมพิวเตอร์
การเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.7 แมกนิจูด ในระดับความลึก 10 กม. จากผิวดิน ที่เมืองมัณฑะเลย์ของประเทศพม่าเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 เวลาประมาณ 13:20 ตามเวลาท้องถิ่นของประเทศไทย แรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวครั้งนี้สร้างความเสียหายเป็นวงกว้างในประเทศพม่า และ ยังสามารถรับรู้ได้ทั้งในเมืองหลวงของไทย และ ทางตอนใต้ของประเทศจีน ความสั่นสะเทือนในระดับดังกล่าวไม่เคยเกิดขึ้นในช่วงชีวิตของประชากรเกือบทั้งหมดของไทย และ ผู้เชี่ยวชาญบางคนถึงขนาดกล่าวว่า มันคือแรงสั่นสะเทือนที่รุนแรงที่สุดในรอบ 100 ปีของไทย
แผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกมีกลไกการเกิดที่สลับซับซ้อน โดยพื้นที่ที่อยู่ใกล้รอยเลื่อนของเปลือกโลกมีความเสี่ยงสูงกว่าเขตอื่นๆ ผลกระทบจากแผ่นดินไหวอาจรวมถึงการพังทลายของอาคาร ความเสียหายของโครงสร้างพื้นฐาน และที่แย่ที่สุดก็คือ การเกิดแผ่นดินไหว เป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดการได้ล่วงหน้า
1. ความเสี่ยงของความเสียหายต่อระบบคอมพิวเตอร์
เมื่อเกิดแผ่นดินไหว ระบบคอมพิวเตอร์และเซิร์ฟเวอร์อาจได้รับผลกระทบดังนี้:
1.1 ความเสียหายทางกายภาพ: อุปกรณ์เซิร์ฟเวอร์และคอมพิวเตอร์อาจได้รับความเสียหายจากแรงสั่นสะเทือน ทำให้ฮาร์ดแวร์เสียหายหรือระบบขัดข้อง
1.2 ไฟฟ้าดับหรือไฟกระชาก: แผ่นดินไหวอาจทำให้ไฟฟ้าดับหรือเกิดไฟกระชาก ซึ่งอาจทำให้ข้อมูลสูญหายหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เสียหาย
1.3 ระบบเครือข่ายล่ม: โครงข่ายอินเทอร์เน็ตและระบบการสื่อสารอาจได้รับผลกระทบจากโครงสร้างพื้นฐานที่เสียหาย ทำให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์หยุดชะงัก
1.4 ข้อมูลสูญหาย: หากไม่มีระบบสำรองข้อมูลที่ดี ข้อมูลสำคัญอาจสูญหายหรือได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว
2. การป้องกันความเสียหายต่อระบบคอมพิวเตอร์และเซิร์ฟเวอร์
เพื่อป้องกันและลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากแผ่นดินไหว ควรดำเนินการตามแนวทางดังนี้:
2.1 เสริมความแข็งแรงของอุปกรณ์: ใช้ชั้นวางเซิร์ฟเวอร์ที่สามารถต้านแรงสั่นสะเทือน หรือยึดอุปกรณ์ให้มั่นคงเพื่อป้องกันการล้มและเสียหาย
2.2 ใช้แหล่งจ่ายไฟสำรอง (UPS) และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า: เพื่อป้องกันปัญหาไฟฟ้าดับหรือไฟกระชาก ควรติดตั้ง UPS และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองเพื่อให้ระบบยังคงทำงานได้
2.3 วางแผนสำรองข้อมูล (Backup Plan): ควรสำรองข้อมูลไว้อย่างสม่ำเสมอ ทั้งในระบบสำรองในสถานที่และระบบสำรองข้อมูลบนคลาวด์ เพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูลสำคัญ โดยการใช้ซอฟต์แวร์ที่มีความน่าเชื่อถือ และ ได้รับการยอมรับ และ มีระบบการทดสอบการทำงานแบบจำลองสถานการณ์การกู้ข้อมูลได้
2.4 กระจายศูนย์ข้อมูล (Disaster Recovery Site): หากเป็นองค์กรที่ต้องพึ่งพาข้อมูลจำนวนมาก ควรมีศูนย์ข้อมูลสำรองในพื้นที่ที่ปลอดภัยจากแผ่นดินไหว
2.5 ฝึกอบรมพนักงานและจัดทำแผนรับมือเหตุฉุกเฉิน: การมีแผนรับมือเหตุฉุกเฉินและการฝึกอบรมพนักงานให้มีความรู้เกี่ยวกับมาตรการป้องกัน จะช่วยให้สามารถรับมือกับเหตุการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ตัวอย่างของการออกแบบระบบเพื่อรับมือกับสถานการณ์แผ่นดินไหว
3.1 การออกแบบระบบ DR-Site สำหรับการทำงานเมื่อ DC มีปัญหา
3.2 การสร้างระบบ Redundancy ในระดับ Database เช่น SQL Log Shipping / Always On Availability Group หรือ Replication ในฐานข้อมูลตัวอื่นๆ
3.3 การสร้างระบบ Replication ในระดับ Storage เช่น Storage Replication ซึ่งอาจจะ Implement ได้ทั้งจาก Proprietary หรือ Software Based เช่น Ceph
3.4 การใช้ระบบ Backup เพื่อการกู้คืนข้อมูล ที่เหมาะสม เพราะซอฟต์แวร์และบางระบบสามารถทำงานได้ทันที การ Implement ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบที่ลูกค้าต้องการ
บทสรุป
แผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติที่อาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบคอมพิวเตอร์และโครงสร้างพื้นฐานทางไอที การเตรียมความพร้อมผ่านมาตรการป้องกันที่เหมาะสม เช่น การเสริมความแข็งแรงของอุปกรณ์ การใช้ระบบสำรองไฟฟ้า การสำรองข้อมูล และการกระจายศูนย์ข้อมูล จะช่วยลดความเสี่ยงและเพิ่มความมั่นคงของระบบไอทีในกรณีที่เกิดภัยพิบัติ
ข้อมูลอ้างอิงจาก https://earthquake.usgs.gov/earthquakes/eventpage/us7000pn9s/executive