ข้อเสียของการใช้งาน SMB/CIFS ใน Backup Repository

Published on May 13, 2025
ข้อเสียของการใช้งาน SMB/CIFS ใน Backup Repository

ก่อนอื่นต้องบอกว่า คำถามดังกล่าวนั้น เราได้รับจากลูกค้า อยู่เนืองๆ ก็เลยเป็นที่มาของการเขียนบทความในวันนี้ เพราะหลายๆ คนยังติดกับการใช้งาน SMB/CIFS โดยเฉพาะผู้ที่ใช้งานอยู่ในระบบ Windows เป็นหลัก ซึ่งโปรโตคอลดังกล่าวนั้นมีการพัฒนามาตั้งแต่ปี 1983 และ เรียกว่าเป็นสิ่งที่ใช้งานกันเยอะมากสำหรับผู้ที่ใช้ Windows based ไม่ว่าจะเป็น Windows Server หรือว่า Workstation (8/9/10/11) แต่ต้องบอกว่า นอกจากปัญหาที่เกิดขึ้นในตัวมันเองแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง overhead สูง การทำงานที่ไม่ได้เหมาะกับ WAN มันก็ยังมีปัญหาอื่นๆ ที่ไม่ได้เหมาะกับการทำงานร่วมกับกับ OS ตัวอื่นๆ เช่น macOS หรือ Linux และนั่นจึงเป็นที่มาส่วนหนึ่งว่า เมื่อใดก็ตามที่เราใช้งานสำหรับ backup มันก็ไม่ควรใช้ SMB/CIFS ด้วยแต่ควรมองหา protocol อื่นๆ ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากกว่า

วันนี้เราจึงเอาข้อมูลมาเปรียบเทียบ

หัวข้อเปรียบเทียบ SMB/CIFS เปรียบเทียบกับ iSCSI เปรียบเทียบกับ NFS
1. ประสิทธิภาพ ช้ากว่าในการอ่าน/เขียนไฟล์ใหญ่ iSCSI ทำงานในระดับ block ซึ่งเร็วกว่า NFS มี performance ดีกว่าใน Linux environment
2. การใช้ในระบบ UNIX/Linux Native support ไม่ดีเท่า NFS (ต้องใช้ samba หรือ cifs-utils) iSCSI ทำงานเป็น block device ซึ่ง OS มองเป็น local disk NFS native บน Linux และ Unix
3. ความซับซ้อนของสิทธิ์ ระบบ ACL ซับซ้อน, ต้องทำ mapping ระหว่าง user Windows กับ Linux iSCSI ไม่ต้องจัดการสิทธิ์ไฟล์ในระดับ protocol (ขึ้นกับ OS) NFS ใช้ UID/GID ซึ่งง่ายกว่าใน Linux
4. ความเหมาะสมกับ Virtualization ไม่เหมาะใช้เป็น storage backend ของ VM disk iSCSI เหมาะกับการเก็บ VM disk images (เช่นใน VMware, Proxmox) NFS ก็ใช้เก็บ VM disk ได้ดี โดยเฉพาะกับ VMware
5. Latency มี latency สูงกว่าเมื่อเทียบกับ iSCSI และ NFS iSCSI มี latency ต่ำกว่าเนื่องจากเป็น block-level access NFS โดยทั่วไปมี latency ต่ำกว่า SMB
6. Scalability การขยายระบบมีข้อจำกัด โดยเฉพาะบนระบบ non-Windows iSCSI และ NFS scale ได้ดีกว่า NFS scale บนระบบ Linux/Unix ได้ดี

หากคุณใช้งานในสภาพแวดล้อมที่เน้น Windows file sharing และผู้ใช้งานส่วนใหญ่เป็น Windows clients – SMB/CIFS ยังเหมาะสม
แต่ถ้าเป็น server-centric workload เช่น VM, database, backup – iSCSI และ NFS จะให้ประสิทธิภาพและความยืดหยุ่นที่ดีกว่า

Nakivo Repo Design

รูปภาพ 1

จากรูปแบบเป็นตัวอย่าง การออกแบบ repo ผ่าน iSCSI อย่างง่ายๆ ซึ่งแสดงขึ้นเพื่อให้เป็นตัวอย่างเบื้องต้นเท่านั้น

เรามีบริการออกแบบ การสำรองข้อมูลครบวงจร ไม่ว่าท่านจะใช้ Backup Software ตัวใด ด้วยประสบการณ์ทั้ง Virtualization & backup มากว่า 15 ปี ปรึกษาเราวันนี้ฟรีที่ Line OA : @avesta.co.th

 

ข้อเสียของการใช้งาน SMB/CIFS ใน Backup Repository

ก่อนอื่นต้องบอกว่า คำถามดังกล่าวนั้น เราได้รับจากลูกค้า อยู่เนืองๆ ก็เลยเป็นที่มาของการเขียนบทความในวันนี้ เพราะหลายๆ คนยังติดกับการใช้งาน SMB/CIFS โดยเฉพาะผู้ที่ใช้งานอยู่ในระบบ Windows...

Read more »

รู้จักกับ Object Storage เช่น S3 และประโยชน์ของมัน

ปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่า การใช้งาน Object Storage นั้นเพิ่มขึ้นอย่างมาก และ ได้รับความนิยมอย่างมากทั่วโลก ในงานหลายๆ ด้าน ซึ่งมันทำมาเพื่อแก้ปัญหาหลายๆ...

Read more »

Veeam Immutability

ransomware นั้นได้กลายเป็นเรื่องที่สร้างความปวดหัวให้กับองค์กรต่างๆ ทั่วโลกแบบรายวันกันเลยทีเดียว และ หนึ่งในเทคโนโลยีที่จะช่วยให้เรารอดพ้นจากภัยดังกล่าวได้นั้นคือ Immutability และ มันก็ได้กลายเป็นสิ่งพื้นฐานที่ทุกคนเข้าถึงได้ไปแล้วในปัจจุบัน หาใช่เทคโนโลยีชั้นสูงราคาแพงอีกต่อไป Veeam...

Read more »

วิธีการตั้งค่า SR-IOV สำหรับ NIC บน Proxmox VE

ในระบบ Virtualization สมัยใหม่ การเพิ่มประสิทธิภาพการเชื่อมต่อเครือข่ายและการเข้าถึงฮาร์ดแวร์โดยตรงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะในงานที่ต้องการ Bandwidth สูง หรือ Latency ต่ำ...

Read more »

Installing PostgreSQL 17 on Ubuntu 24.04

PostgreSQL คือระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์แบบโอเพนซอร์ส (Open-source Relational Database Management System – RDBMS) ที่ทรงพลังและมีความสามารถสูง...

Read more »

วิธีการติดตั้ง DatApp-NBP Data Backup System

ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลเป็นทรัพยากรสำคัญขององค์กร การปกป้องและสำรองข้อมูลจึงเป็นสิ่งจำเป็น DatApp-NBP เป็นระบบสำรองข้อมูลที่ออกแบบมาเพื่อช่วยให้ธุรกิจสามารถป้องกันการสูญหายของข้อมูลและกู้คืนข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยคุณสมบัติที่ทันสมัย DatApp-NBP รองรับการสำรองข้อมูลทั้งบนเซิร์ฟเวอร์ ฐานข้อมูล และระบบคลาวด์ ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถกำหนดค่าการสำรองข้อมูลอัตโนมัติได้ตามความต้องการ...

Read more »