Backup Site and Disaster Recovery (Remote Backup, Network Backup)

Published on February 20, 2018
Backup Site and Disaster Recovery (Remote Backup, Network Backup)

Backup Site and Disaster Recovery (Remote Backup, Network Backup) สถานที่สํารองข้อมูล และ การกู้ข้อมูลในยามฉุกเฉิน

          ในโลกที่ระบบคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทกับทุกประเภทของธุรกิจในปัจจุบันนี้ ส่งผลให้วิธีการเก็บและบันทึกข้อมูล ถูกเปลี่ยนมาเป็นระบบดิจิตอลอย่างสิ้นเชิง ข้อมูลการเก็บในระบบคอมพิวเตอร์ หรือ Storage มีมากขึ้นทวีคูณ แม้ว่าในคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลก็มีขนาดกันถึง Terabyte กันแล้วในปัจจุบันนี้ ความก้าวหน้า ทางด้านเน็ตเวิร์กหรือระบบเครือข่าย และซอฟต์แวร์ที่ช่วยให้การย้ายไฟล์หรือการแชร์ไฟล์ข้ามเครือข่าย ก็มีความก้าวหน้าขึ้นมากและเป็นสาเหตุหนึ่งของการเพิ่มขึ้นของข้อมูล ทั้งสําหรับองค์กรและ ส่วนบุคคล

 

รูปที่ 1 Backup Site

                   ในขณะเดียวกันเมื่อมีข้อมูลทุกอย่างมาเก็บอยู่ในรูปดิจิตอลแทบทั้งหมด การจะรักษามันไว้ให้มีความคงทน และ พร้อมใช้งาน ทุกเมื่อบางครั้งงก็ไมใช่เรื่องง่าย ยิ่งสําหรับองค์กรด้วยแล้ว การยอมรับกับความเสี่ยงของฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และ ระบบเครือข่าย บางครั้งมันเป็นเรื่องที่ไม่สามารถยอมรับกันได้ง่ายๆ เพราะนอกจากเหตุการใดเหตุการหนึ่ง หรือ หลายเหตการณ์ร่วมกันเกิดขึ้น ยังผลให้ธุรกิจหยุดชะงัก และสิ่งที่จะตามมาคือความเสียหายในธุรกิจ ซึ่งบางครั้งอาจจะตีค่าเป็นเงินตราไม่ได้ เพราะมันอาจจะหมายถึงการเสียชื่อเสียงและ ความน่าเชื่อถือด้วยเช่นกันก่อนที่เราจะทําการแนะนําโซลูชั่นที่เรามี และ พร้อมกับการให้บริการอันยอดเยี่ยม เราอยากให้ท่านทําความเข้าใจเกี่ยวกับระบบแบ็คอัพหรือสํารองข้อมูล และ เทคโนโลยีของการสํารองข้อมูลที่มีใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

สื่อที่ใช้ในการสำรองข้อมูล

ปกติแล้วการสํารองข้อมูลนั้นเป็นสิ่งทิ่่มีการใช้งานกันเป็นประจําอยู่แล้ว ด้วยเทคโนโลยีของสื่อที่ต่างกันออกไป เช่น

• Harddisk

• Solid‐state disk

• Tape Backup

• CD / DVD / Optical Disc

• External Storage

ไม่ว่าจะเป็น On‐site หรือภายในห้องเซิร์ฟเวอร์ของท่านเอง หรือ จะเป็น Remote site สื่อเหล่านี้ก็จะนํามาถูกใช้เก็บข้อมูล เช่นเดียวกัน แต่อาจจะไม่ทุกชนิดที่เหมาะกับบางประเภทของ Backup site.

 

เทคนิคในการทำการสำรองข้อมูล (data repository model)

          เทคนิคการสํารองข้อมูลนั้น แต่ละแบบจะมีข้อดีข้อด้อยต่างกันออกไป ดังต่อไปนี้
Unstructured : การเก็บข้อมูลแบบนี้ จะหมายถึงการเก็บในสื่อ เช่น แผ่น CD/ DVD ซึ่งเป็นวิธีการที่ง่าย แต่ไม่ ได้สนับสนุนการเก็บที่เป็นระบบระเบียบได้

 

รูปที่ 2 Incremental Backups

 

          Full + Incrementals : เทคนิคการสํารองข้อมูลและการเก็บข้อมูลแบบนี้ทําขึ้นเพื่อจัดเก็บในรูปแบบของเวอร์ชั่น ในครั้งแรก เราจะเก็บแบบ Full backup หลังจากนั้นจะทําการเก็บแบบ Incremental (ซึ่งจะเก็บไฟล์ที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจาก Full version) การเก็บข้อมูลแบบนี้จะเป็นการเป็นการรักษาข้อมูลในระดับที่สูงขึ้น เพื่อให้แน่ในว่า บางสิ่งที่เราต้องการ จะถูกดึง ขึ้นมาได้ตามจุดเปลี่ยนแปลงต่างๆ และการดึงข้อมูล ที่มาถึงจุดปัจจุบัน เราจะต้องใช้ Full backup + Incremental ทั้งหมดที่มีการเปลี่ยนแปลง และ หาก Incremental ระหว่าง Full backup ถึงจุดที่เราต้องการมีความเสียหายเท่ากับว่า เราได้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน

 

          Full + Differentail : สําหรับวิธีการนี้จะแตกต่างกับ Full + Incrementals ก็คือ หลังจากเราทำ Full backup แล้ว ระบบ Partial backup จะทําการตรวจจับทุกไฟล์ที่ถูกสร้าง หรือว่ามีการเปลี่ยนแปลง หลังจาก Full backup ถึงแม้ว่าบางไฟล์ อาจจะถูกรวมในการทำ Partial backup ไปก่อนหน้านี้แล้ว

          Mirror + Reverse Incrementals : วิธีการนี้จะเป็นวิธีการทํา Mirror หรือสําเนาที่แสดงหรือเหมือนกัน สถานะของการสํารองข้อมูลครั้งหลังสุด และ ประวัติของ Reverse incremental (reverse incremental ก็คือ Incremental ของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นระหว่าง 2 mirror) และเมื่อเราทําการเทียบ Reverse incremental กับ Mirror ใดๆ เราก็จะได้ Mirror เวอร์ชั่นล่าสุด

          Continuous Data Protection : วิธีการนี้ค่อนข้างจะก้าวหน้าขึ้นมาจากแบบเดิมๆ ตรงที่ระบบจะทําการบันทึกการเปลี่ยนแปลงไว้ในเครื่องหนึ่ง โดยจะทําการบันทึกในระดับของไบต์และ ตํ่ากว่านั้น คือระดับของ Data block ซึ่งจะทําการการกู้ข้อมูลคืนนั้นง่ายขึ้น โดยใช้เทคนิค Roll‐back เพื่อกู้ Image file ที่ต้องการขึ้นมา

 

Backup Sites

          หนึ่งในปัจจยสำคัญที่เราจะต้องใช้ในการกู้ข้อมูล เมื่อเกิดเหตุการฉุกเฉิน ในสถานที่ทํางานหลักของเรา ไม่ว่าจะเกิดจากไฟดับระยะเวลานาน ไฟไหม้ตึกถล่ม หรือ อะไรก็แล้วแต่ จะต้องอาศัย Backup site เพราะมันจะเป็นสถานที่ที่จะขึ้นมาทำหน้าที่เหมือน Data center ใหม่ของเรา ทั้งนี้ชนิดของ backup site นั้นจะมีอยู่ดังนี้

    • Cold Backup sites
    • Warm Backup Sites
    • Hot Backup Sites

          จากชื่อหลายท่านอาจจะคิดว่า มีอุณหภูมิเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งในความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะมันหมายถึงความยากง่ายในการที่จะเริ่มดําเนินการที่จะให้เรากลับมาทำงานได้ในกรณีที่เกิดเหตุการฉุกเฉิน

 

สําหรับแบบแรก คือ

          Cold backup site นั้นหมายถึงการเตรียมพื้นที่ดําเนินการ ในที่ใดที่หนึ่ง ซึ่งหมายถึงจะให้สถานที่แบบนี้ เริ่มดําเนินการทํางานได้นั้น จะต้องมีการย้ายอุปกรณ์เข้าไป แน่นอนว่า มันจะต้องกินเวลาพอสมควร ก่อนที่ระบบจะเริ่ม ดําเนินการได้เหมือนเดิม สําหรับ Cold backup site นั้นจะมีราคาดําเนินการถูกที่สุด

 

 

แบบที่ 2 คือ

          Warm backup site นั้น หมายถึงสถานที่ที่มีฮาร์ดแวร์พร้อมอยูแล้ว ในกรณีที่จะทําให้ระบบกลับมาใช้งานได้ เหมือนเดิมนั้น ท่านจะต้องอาศัย Backup ที่อาจจะอยู่ที่ใดที่ใดที่ท่านเก็บไว้ (off‐site) เพื่อนํามากู้ข้อมูลคืน หลังจากนั้นท่านก็จะกลับมาทํางานได้เป็นปกติ

          สําหรับแบบสุดท้ายคือ Hot backup site คือสถานที่ที่มีข้อมูลปัจจุบันของท่านอยู่แล้ว พร้อมฮาร์ดแวร์เพื่อดําเนินการ และปกติเพียงเวลาไม่กี่ชม. ท่านก็จะกลับมาทำงานเหมือนเดิมได้อีก หากสถานที่ทํางานเกิดความเสียหาย สําหรับ Backup site แบบนี้ นับว่าเป็นแบบที่แพงที่สุด

 

 

 

บริการด้วยความเชี่ยวชาญจากเรา

 – บริการให้คําปรึกษาเรื่องการทําระบบสํารองข้อมูล

 – บริการจัดทำ Remote Backup ในรูปแบบต่างๆ บริการสํารองข้อมูล บางส่วน เช่น เว็บไซต์ หรือเฉพาะฐานข้อมูล ไว้ที่ Backup site ของเรา โดยอาศัยเทคโนโลยีแบบต่างๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้น ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้า

 – บริการกู้ข้อมูลคืนจากการเก็บ (Restore)

 – บริการ Backup แบบ on‐site โดยอาศัยเจ้าหน้าที่

 

ข้อควรพิจารณาเมื่อต้องการจะสำรองข้อมูล

 ‐ Portability ระบบที่ต้องการสํารองข้อมูล จําเป็นจะต้องเคลื่อนย้ายได้หรือไม่ เช่น Backup จากหนึ่งที่ จะต้องการจะเอาไป Restore ที่อื่น ?

 ‐ Unattended or automated backups ระบบที่ท่านต้องการนั้น จะต้องการเป็นระบบอัตโนมัติภายในช่วงเวลาที่กําหนด นั้นจําเป็นหรือไม่สําหรับท่าน ?

 ‐ User‐friendliness ระบบติดต่อกับผู้ใช้งานที่ง่ายนั้นสำคญกับคุณหรือไม่ ?

 ‐ Remote Backups ความสามารถที่จะให้ระบบสํารองข้อมูลนั้น เริ่มทํางานทันที่ต้องการ และ ต้องการจะให้เครื่องที่อยู่ในสถานที่อื่นนั้นทำการ Restore สําคัญกับคุณหรือไม่ ?

 ‐ Media types การสํารองข้อมูลนั้น ต้องการในสื่อชนิดใด

Creating Proxmox VE Cluster

สำหรับ Proxmox VE นั้นแน่นอนว่าสนับสนุนการทำ Clustering ในตัวอยู่แล้วเพื่อทำให้ระบบมี การจัดการทรัพยากรของเซิร์ฟเวอร์หลายเครื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มความสามารถในการสำรองข้อมูล, การย้ายเครื่องเสมือน (VM)...

Read more »

Updating ML30 Gen10 Firmware with ILOREST

แน่นอนว่าการอัพเดท firmware ของทั้ง BIOS และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดใน Server นั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่า เพื่อความปลอดภัย และ...

Read more »

Switches เดสก์ท็อปสวิตช์ 10/100Mbps 10 ช่อง

แนะนำอุปกรณ์ใหม่ มาแรง ใช้งานง่าย! Switches อุปกรณ์ต่อพ่วง Network Computer เดสก์ท็อปสวิตช์ 10/100Mbps 10...

Read more »

how to apply license key on a Proxmox VE host

สำหรับวันนี้ เราจะมาสอนเรื่องการ Activate License Key สำหรับ Proxmox VE กัน ซึ่งแน่นอนว่า...

Read more »

configuring multiple VLANs in Proxmox VE

การกำหนด VLAN หลายตัว (Multiple VLAN) ใน Proxmox VE สำหรับการกำหนด VLAN...

Read more »

Verifying Files with MD5 Checksum

สำหรับการตรวจสอบความถูกต้องหรือความสมบูรณ์ของไฟล์เนี่ย ได้ทวีความสำคัญขึ้นมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เพราะภัยทางอินเตอร์เน็ตนั้นเยอะขึ้นมาก เพราะฉะนั้นหากคุณดาวน์โหลดไฟล์แล้วไม่ตรวจสอบค่า checksum เพื่อยืนยันความถูกต้องของผู้ผลิตไฟล์อีกที มันก็จะเป็นการเสี่ยงที่ท่านจะได้ไฟล์ซึ่งอาจจะมีโปรแกรมหรือสิ่งไม่พึงประสงค์ไปด้วย และ เทคโนโลยีในการตรวจสอบไฟล์นั้น ก็คือ...

Read more »