GlusterFS นั้นเป็นระบบไฟล์เซ็สเต็มแบบกระจาย ที่มีความสามารถในการรวมสตอเรจจากเซิร์ฟเวอร์ต่างๆ มารวมไว้เป็นศูนย์กลาง หรือ อาจจะเรียกได้ว่า กลายเป็น storage pool เดียวที่ง่ายต่อการจัดการ
สำหรับ file system นั้นเนื่องจาก ปกติแล้วมันจะเป็นฉากหลัง เพราะฉะนั้นหลายคนก็อาจจะละเลยหรือมองข้ามไป แล้วเราจะไปรู้ตัวอีกทีก็ต่อเมื่อ เนื้อที่เต็ม หรือ มีการแก้ไขพาร์ติชัน
เบื้องหลัง GlusterFS
สำหรับ Gluster นั้นมาจากคำว่า GNU ซึ่งเป็นตัวย่อของ GNU’s not Unix! ทั้งนี้ก็เพราะว่าระบบไฟล์แบบนี้ ทำงานอยู่ในลิขสิทธิ์ที่เรียกว่า General Public License (GNU-GPLS) ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์แบบไม่คิดมูลค่า หรือ ฟรีนั่นเอง นอกจากนั้นคำว่า cluster ก็คือคำที่สื่อถึงการรวมเครื่องเซิร์ฟเวอร์ให้เป็นหน่วยเดียวเชิงตรรกะ
สำหรับโปรเจกต์นี้สร้างขึ้นครั้งแรกในปี 2005 โดย Gluster Inc. หลังจากนั้นในปี 2011 บริษัท RedHat ในขณะนั้น เข้าซื้อกิจการของ Gluster Inc. และได้ทำการพัฒนาเรื่อยมา สำหรับ GlusterFS version 7 นั้นมีการเปิดตัวใน ม.ค. 2020 และล่าสุดในปี 2025 ก็มีการออก 11.x แล้ว และมีให้ใช้งานใน Linux Distribution ดังต่อไปนี้
ในการติดตั้ง GlusterFS นั้น ในเครื่องเครื่องหนึ่งนั้น จะสามารถเป็นได้ทั้ง Server และ Client สามารถอยู่ในเครื่องเดียวกันได้ สำหรับการเข้าถึงระบบไฟล์นั้น สามารถทำได้ผ่าน NFS (Network File System) และ SMB/CIFS (Server Message Block/Common Internet File System)
หน้าที่และการทำงานของ GlusterFS
แน่นอนว่า ระบบไฟล์กระจายนั้น จะสามารถทำงานได้ก็ต่อเมื่อเรามีเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเซิร์ฟเวอร์หลายๆ ตัวเชื่อมต่อกันอยู่ และ ตามคำแนะนำของผู้ผลิต GlusterFS นั้นจำเป็นจะต้องมี 3 Servers โดยในระบบนี้แต่ละเครื่องนั้นเราจะเรียกว่า โหนด โดยหน่วยเหล่านี้เราจะเรียกรวมกันว่า pool หรือจะเรียกว่า bricks และ เรามี volume หรือหน่วยของการเก็บที่เราจะไว้ให้ client เข้ามาใช้งาน ที่จะถูกสร้างบน bricks หรือพูดง่ายๆ มันก็คือ ไดเรกทอรีนั่นเอง ก่อนนำมาผนวกเป็น Volume
คุณสมบัติที่สำคัญมากๆ คือ ความสามารถในการขยายของ GlusterFS เพราะว่า จำนวน nodes และ bricks นั้นสามารถเพิ่มได้ตลอดเวลา หรือพูดง่ายๆ เพิ่มเนื้อที่ใน volume ได้ตลอด
สำหรับการป้องกับความเสียหายของข้อมูลนั้น ก็จะมีสิ่งที่เรียกว่า data duplication หรือพูดง่ายๆ ก็คือการเก็บสำเนา ไฟล์ไว้ในแต่ละ brick และล่าสุด geo-replication ก็จะทำให้ท่านสามารถที่จะ ทำการ asynchronize ข้อมูลข้าม WAN ได้แล้ว
การนำ GlusterFS ไปใช้งาน
สำหรับผู้ที่สนใจการใช้งาน GlusterFS ควบคู่กับ Proxmox VE สามารถติดต่อสอบถาม เราได้โดยตรง เพราะ AVESTA คือตัวแทนจำหน่าย Proxmox VE อย่างเป็นทางการ สนทนากับเราตอนนี้เลยผ่าน Line OA : @avesta.co.th หรืออีเมล์ [email protected]