Installing VMware PowerCLI on Ubuntu 22.04 Jammy

Published on July 11, 2024
Installing VMware PowerCLI on Ubuntu 22.04 Jammy

PowerCLI คือชุดเครื่องมือภาษาการโปรแกรมในการจัดการอัตโนมัติ (Automation) ที่พัฒนาโดย VMware สำหรับการบริหารจัดการ VMware vSphere และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของ VMware โดย PowerCLI เป็นส่วนขยายของ PowerShell ซึ่งเป็นภาษา scripting ของ Microsoft PowerCLI ประกอบด้วย cmdlets มากมายที่ช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถจัดการและกำหนดค่าโครงสร้างพื้นฐานของ VMware ได้อย่างง่ายดาย โดยปัจจุบันนั้น Powershell ของ Microsoft นั้นไม่เพียงแต่ทำงานได้บนระบบปฏิบัติการ Windows เท่านั้น แต่ยังทำงานได้บน Linux และ MacOS อีกด้วย

คุณสมบัติและการใช้งาน PowerCLI
การบริหารจัดการ vSphere: ช่วยให้สามารถจัดการและปรับแต่ง ESXi hosts, virtual machines (VMs), datastores, networks, และองค์ประกอบอื่น ๆ ของ vSphere ได้
การจัดการอัตโนมัติ: ช่วยให้ผู้ดูแลระบบสามารถสร้างสคริปต์เพื่อทำงานซ้ำๆ หรือทำงานที่ซับซ้อนได้โดยอัตโนมัติ
การติดตั้งและการกำหนดค่า: สามารถใช้ในการติดตั้งและกำหนดค่า VM ใหม่ๆ หรือโฮสต์ใหม่ ๆ ได้ง่าย ๆ (provision)
การทำรายงาน: ช่วยให้สามารถสร้างรายงานเกี่ยวกับสภาวะของโครงสร้างพื้นฐาน VMware ได้ เช่น รายงานเกี่ยวกับการใช้งานทรัพยากร, รายงานสถานะของ VM ฯลฯ

สำหรับชุดคำสั่งในการจัดการ products ของ VMware ผ่าน Powershell ทั้งหมดนั้นท่านสามารถอ่านเพิ่มเติมและดูคำสั่งได้ที่ https://developer.broadcom.com/powercli/latest/products/vmwarevsphereandvsan/commands-index

วันนี้เราจะพาไปดูวิธีการติดตั้ง Powershell บน Linux เพื่อที่จะทำการใช้งาน Powershell ในการเชื่อมต่อไปยัง VMware ESXi และทำการ shutdown esxi ตามเวลาที่กำหนด
Linux ที่เราจะติดตั้ง Powershell พร้อมกับ PowerCLI module นี้จะเป็น Ubuntu 22.04 (Jammy) แต่ใน version อื่นๆ เช่น 20.04, 24.04 ก็ใช้คำสั่งไม่ได้ต่างกัน

ทำการพิมพ์คำสั่ง

sudo apt-get update

เพื่อทำการอัพเดท list ของ package ในระบบ

ทำการติดตั้ง package เพิ่มเติมดังนี้

sudo apt-get install -y wget apt-transport-https software-properties-common

ทำการดึงค่าตัวแปรด้วยคำสั่ง

source /etc/os-release

หลังจากนั้น ทำการดาวน์โหลด repo ของ Microsoft

wget -q https://packages.microsoft.com/config/ubuntu/$VERSION_ID/packages-microsoft-prod.deb

หลังจากนั้นทำการติดตั้ง repo key

sudo dpkg -i packages-microsoft-prod.deb

ทำการลบไฟล์ package repo ที่ดาวน์โหลดมา

rm packages-microsoft-prod.deb

ทำการปรับปรุง list ของ package อีกครั้ง

sudo apt-get update

ทำการติดตั้ง Powershell

sudo apt-get install -y powershell

เมื่อติดตั้งแล้ว ก็ทำการรัน Powershell ด้วยคำสั่ง

pwsh

ท่านก็จะได้ระบบ prompt ของ powershell ตามภาพ

running powershell

ทำการติดตั้ง PowerCLI ด้วยคำสั่ง

Install-Module -Name VMware.PowerCLI

ดังรูป
installing PowerCLI Module

ระบบจะบอกกับท่านว่า module PowerCLI นั้นจะถูกติดตั้งจาก PSGallery ซึ่งท่านจะต้องกด Y เพื่อยืนยัน และกด Enter

confirm downloading PowerCLI from PSGallery

หลังจากนั้นให้ท่านทำการพิมพ์ คำสั่งเพื่อเป็นการ import module PowerCLI

import-module VMware.PowerCLI 

ระบบจะบอกกับท่านว่า ให้ท่านเลือกที่จะ join program Customer Improvement โดยท่านจะต้องพิมพ์คำสั่ง

Set-PowerCLIConfiguration -Scope User -ParticipateInCEIP $true

หรือหากท่านไม่ต้องการ join ก็เปลี่ยนตัวแปรเป็น false ตามตัวอย่างจะเป็นการเข้าร่วมโปรแกรม
joining vmware CEP

คำสั่งอีกคำสั่งหนึ่งที่ท่านจะต้องใช้คือ

Set-PowerCLIConfiguration -InvalidCertificateAction Ignore -Confirm:$false 

ซึ่งเป็นการบอกระบบว่า ขณะที่ท่าน เชื่อมต่อไปยัง ESXi Host นั้น ท่านจะใช้ self-signed Certificate

Ignore Certificate Check

ตัวอย่างต่อไปนี้ คือการใช้ Powershell Script ในการสั่ง shutdown ESXi Host ทุกวันเวลา 18:00 โดยให้ท่านสร้างไฟล์ที่มีชื่อว่า
shutdown-my-esxi.ps1 ซึ่งท่านอาจจะสร้างด้วย text editor อะไรก็ได้ ที่ท่านต้องการ เช่นเราเก็บไฟล์ไว้ใน /root/shutdown-my-esxi.ps1

Import-Module VMware.PowerCLI
$esxiHost = "IP ของ ESXI"
$esxiUser = "username ของ esxi"
$esxiPassword = "password ของ esxi"

# เชื่อมต่อไปยัง host
$credential = New-Object System.Management.Automation.PSCredential($esxiUser, (ConvertTo-SecureString $esxiPassword -AsPlainText -Force))
Connect-VIServer -Server $esxiHost -Credential $credential

# สั่งให้ทำการ shutdown
Stop-VMHost -VMHost $esxiHost -Confirm:$false -Force

# ตัดการเชื่อมต่อจาก esxi
Disconnect-VIServer -Server $esxiHost -Confirm:$false

หลังจากนั้น ให้ท่านใช้ crontab ในการตั้งเวลา เช่น

crontab -e

และเพิ่มบรรทัดที่เรียก powershell ขึ้นมาทำงาน ดังรูป

shutdown esxi at 18:00 everyday

ก็เรียกว่าเป็นตัวอย่างง่ายๆ สำหรับการ shutdown ESXi เพื่อช่วยประหยัดพลังงาน

Configuring Multiple VLANs in Proxmox VE Host

การตั้งค่าหลาย VLAN ใน Proxmox VE สำหรับการกำหนด VLAN หลายตัว (Multiple VLAN)...

Read more »

Changing IP Addresses of Proxmox VE Nodes

การเปลี่ยนแปลงไอพีของ Proxmox VE Cluster Nodes สำหรับการเปลี่ยนแปลง IP นั้นบางครั้งก็จำเป็น เพราะว่า เช่นไอพีคลาสเดิม...

Read more »

Creating Proxmox VE Cluster

สำหรับ Proxmox VE นั้นแน่นอนว่าสนับสนุนการทำ Clustering ในตัวอยู่แล้วเพื่อทำให้ระบบมี การจัดการทรัพยากรของเซิร์ฟเวอร์หลายเครื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มความสามารถในการสำรองข้อมูล, การย้ายเครื่องเสมือน (VM)...

Read more »

Updating ML30 Gen10 Firmware with ILOREST

แน่นอนว่าการอัพเดท firmware ของทั้ง BIOS และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดใน Server นั้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่า เพื่อความปลอดภัย และ...

Read more »

Switches เดสก์ท็อปสวิตช์ 10/100Mbps 10 ช่อง

แนะนำอุปกรณ์ใหม่ มาแรง ใช้งานง่าย! Switches อุปกรณ์ต่อพ่วง Network Computer เดสก์ท็อปสวิตช์ 10/100Mbps 10...

Read more »

how to apply license key on a Proxmox VE host

สำหรับวันนี้ เราจะมาสอนเรื่องการ Activate License Key สำหรับ Proxmox VE กัน ซึ่งแน่นอนว่า...

Read more »